วิธีการทำ

     



          


             วิธีการทำ               

1.นำหน่อไม้มาสับตามความต้องการของตลาด  เมื่อได้ตามความเหมาะสมแล้วให้เช่น้ำไว้ 1 คืน โดยให้น้ำท่วมน้ำหน่อไม้
2.เมื่อแช่น้ำได้ 1 คืน แล้ว ให้ตัดหน่อไม้ออกให้สะเด็ดน้ำเพื่อจะได้ไร้คลุกเคล้าได้
3.นำเกลือทะเลที่เตรียมไว้มาคลุกเคล้ากับหน่อไม้
4. นำถุงพลาสติกรองก้นโอ่งหรือปี๊บโดยให้ช้อนกัน 2 ใบ แล้วนำหน่อไม้ที่คลุกเคล้าเกลือแล้วอัดลงโอ่งหรือปี๊บโดยให้แน่นจนเต็มหรือตามความต้องการ
5.ใช้ยางรัดปิดปากให้แน่นและเก็บไว้ที่ร่ม  เก็บไว้ประมาณ  2-3 เดือน  สามารถนำมารับประทานได้
ในการทำหน่อไม้ดองนั้น  ถ้าเราทำให้เกลือและหน่อไม้คลุกเคล้ากันดีแล้วก็สามารถเก็บไว้ได้นานๆ แต่เกษตรกรบางรายคลุกเคล้าไม่ดีทำให้หน่อไม้เสีย  ไม่สามารถนำมาบริโภคได้  จากที่ผ่านมาเกษตรกรได้ทำหน่อไม้ปี๊บและนำออกสู่ตลาดแต่ก็พบปัญหาสารตะกั่วในหน่อไม้ปี๊บ  ซึ่งขณะนี้หน่อไม้ปี๊บความต้องการของตลาดลด เกษตรกรก็เลยหันมาทำหน่อไม้ดองออกขายให้กับแม่ค้ารายย่อยในตลาดและในหมู่บ้าน
คนไทยส่วนใหญ่จะกล่าวถึงการหมักและการดองควบคู่กันไป แต่ในหลักการถนอมอาหารถึงแม้ว่าคนในสมัยก่อนจะไม่ทราบ แต่การหมัก(fermentation) และการดอง (pickling) นั้นต่าง กัน โดยวิธีทำ คือ

การหมัก หมายถึง การถนอมอาหารโดยอาศัยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์บางชนิดเป็นตัวช่วยในการย่อยสลาย หรือเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีของวัตถุดิบ อาจเติมเกลือหรือไม่ก็ได้และอาจเติมส่วนประกอบอย่างอื่น เช่น ข้าวคั่วเพื่อเสริมให้จุลินทรีย์มีบทบาทในการหมักเพื่อเสริมให้จุลินทรีย์มีบทบาทในการหมัก ทำประมาณ ๒ - ๓ วันหรือหลายเดือน แล้วแต่ ชนิดของผลิตภัณฑ์ เช่น น้ำปลา ปลาร้า ปลาเจ่าหม่ำ ไส้กรอก (เปรี้ยว) เค็มหมักนัด ข้าวหมาก อุ(น้ำเมาหมักจากข้าว) ผักกาดดอง และหน่อไม้ดองเป็นต้น
 
          การดอง หมายถึง การถนอมอาหารในน้ำเกลือและมีน้ำส้มเล็กน้อย อาจเติมเครื่องเทศน้ำตาล หรือน้ำมันด้วยก็ได้ การดองอาจอาศัยเชื้อจุลินทรีย์เข้าไปช่วย ถ้าดองในน้ำเกลือที่มีความเข้มข้นต่ำ เช่น แตงกวาดอง กระเทียมดอง ขิงดอง เป็นต้น หรืออาจดองโดยไม่ต้องอาศัยเชื้อจุลินทรีย์เลย ซึ่งมักใช้กับผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวหรือที่มีความเป็นกรดสูง และใช้น้ำเกลือที่เค็มจัด เช่น มะม่วงดอง เป็นต้น